วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ANSI

ANSI คืออะไร

สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ แอนซี (American National Standard Institute - ANSI) คือองค์กรใน
สหรัฐอเมริกา มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) โดยใช้ชื่อว่า American Engineering Standards Committee และได้มีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1928) โดยเปลี่ยนชื่อเป็น American Standards Association ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ได้มีการจัดตั้งองค์กรนานาชาติขึ้นมา โดยมีประเทศ 25 ประเทศเข้าร่วม และสุดท้ายในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น American National Standard Institute หรือ ANSI ในปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิลเกทรอนิกส์ควรเลือกใช้ภาษาใด เพราะอะไร

ภาษา Visual Basic เพราะเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

จงอธิบายลักษณะของภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ภาษาธรรมชาติ

ภาษาธรรมชาตินี้ ถูกสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีทางด้านระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ซึ่งเป็นงานที่อยู่ในสาขาปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence) ในการที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนกับเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งที่สามารถคิดและตัดสินใจได้เช่นเดียวกับมนุษย์ คอมพิวเตอร์สามารถตอบคำถามของมนุษย์ได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งมีข้อแนะนำต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของมนุษย์ได้อีกด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญนี้จะใช้กับงานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเช่น ในการแพทย์ ในการพยากรณ์อากาศ ในการวิเคราะห์ทางเคมี การลงทุน ฯลฯ ซึ่งในการนี้จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมหาศาลและให้ผู้ใช้สามารถใช้ภาษาธรรมชาติในการดึงข้อมูลจากฐานความรู้นี้ได้ ดังนั้นเราจึงอาจเรียกระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ได้อีกอย่างว่าเป็น

ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท จงอธิบาย

5 ประเภท ได้แก่


1. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้น ๆ เช่น พิมพ์งาน ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้

2. ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter or Technician) หมายถึงผู้คอยดูแลตรวจสอบสภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิค การดูแล รักษา การซ่อมแซม การต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ค่อนข้างดี
3. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามที่ผู้ออกแบบ และวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่าง ๆ ได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้
4. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) หมายถึงผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่า องค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสมุด เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมืองทำงานในส่วนต่อไป
5. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager or Administrator) คือ ผู้ที่มีหน้าที่บริหาร และดูแลทรัพยาการทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ซอฟแวร์ประยุกต์หมายถึงอะไร

ซอฟแวร์ ที่สร้างขึ้น หรือพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่ง ซอฟแวร์ประยุกต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. ซอฟแวร์ที่ใช้งานเฉพาะด้าน

2. ซอฟแวร์ที่ใช้งานทั่วไป

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร

เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ

ram และ rom มีความแตกต่างและมีประโยชน์อย่างไร

มีความแตกต่างกัน คือ ROM ส่วนความจำแบบถาวร หมายถึงส่วนความจำทีนำข้อมูลออกมาใช้งานเพียงอย่างเดียวได้มีการบันทึกข้อมูลไว้ล่วงหน้าแล้วเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า ในปัจจุบันเปิดโอกาสให้สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลได้ RAM หน่วยความจำชั่วคราวจะคงอยู่เมื่อมีพลังงานไฟฟ้าป้อนให้ มี 2แบบ1.DRAM (sdram ddram) 2.SRAM(cache)

ยุคของภาษาคอมพิวเตอร์มี 5 ยุค อะไรบ้าง

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5

คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง